การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 15
บันทึกการเรียนครั้งที่ 15
วันอังคารที่ 21 เดือนเมษายน พ.ศ.2558
กิจกรรมก่อนเรียนดิ่งพสุธา
เป็นเกมสนุกๆ เพื่อให้นักศึกษาได้ผ่อนคลายก่อนเริ่มเรียนในวันนี้
เนื้อหาที่เรียนในวันนี้โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น โดยคณะกรรมการ, ผู้บรหาร, ครู
-เพื่อให้เด็กได้รับการสอน และช่วยเหลือฟิ้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการ
และความสามารถของเขา
- จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- ระบุวันเริ่มต้น และสิ้นสุดการใช้แผน และวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ
- เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถ ของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาว / ระยะสั้น
- ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตน
ได้รับการศึกษา และฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง และเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถ และความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอน และวิธีการสอนให้เกมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียน และเขียนรายงานพัฒนาการ ความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบ และประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนรายบุคคล
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง
และใกล้ชิดระหว่างบ้าน กับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคล
1. การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง, ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาว และระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรม และกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรอง แผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาว กำหนดให้ชัดเจน กว้างๆ
การกำหนดจุดมุ่งหมายระยะสั้น ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
- จะสอนใคร
-พฤติกรรมอะไร
-เมื่อไหร่ ที่ไหน
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
3. การใช้แผน
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อ และจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
- ต้องมีการสังเกตรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับเด็ก โดยคำนึงถึง
1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2. ตัวชี้วัดพื้นฐาน ที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็ก และผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละ 1 ครั้ง กรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
เพลงที่ได้ร้องสอบ
เพลง ลุงมาชาวนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย
เอาไว้ใช้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา เลี้ยงแมว
ไว้เป็นเพื่อนลุงมา
* หมาก็เห่า บ็อก บ็อก
เเมวก็ร้อง เมี๊ยว เมี๊ยว
ลุงมาไถนา วัวร้อง มอ มอ
(ซ้ำ * )
การประเมิน
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนเข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอน
การเขียนแผน IEP ไม่ยากอย่างที่คิดแต่จะต้องทราบข้อมูลและพฤติกรรมของ
เด็กเป็นอย่างดีร่วมทำกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อนๆ อย่างสนุกสนาน
ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจเรียนและร่วมมือช่วยกันคิดกิจกรรมกลุ่ม การเขียนแผน IEPทำบรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบมีเทคนิกการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ ง่ายและสอนสนุกสนานชอบการเรียนการสอนแบบนี้มากคะทำไม่เคร่งเครียด
ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบมีเทคนิกการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ ง่ายและสอนสนุกสนานชอบการเรียนการสอนแบบนี้มากคะทำไม่เคร่งเครียด
บันทึการเรียนการสอนครั้งที่14
บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
วันอังคารที่ 7 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
วันนี้อาจารย์เฉลยข้อสอบที่ได้สอบ พร้อมอธิบาย และยกตัวอย่าง
เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ > การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
- การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
- เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
- อยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
- เด็กจะเรียนรู้จากการเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
- เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนหรือไม่
การรับรู้การเคลื่อนไหว
- ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
- ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
- การกรอกน้ำตวงน้ำ
- ต่อบล็อก
- ศิลปะ
- มุมบ้าน
- ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
- ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
- รูปต่อที่มีจำนวนขิ้นไม่มาก
ความจำ
- จากการสนทน
- เมื่อเช้าหนูทานอะไร
- แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
- จำตัวละครในนิทาน
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
- มิติสัมพันธ์
- การวัด
- การตวง
- การชั่ง
- การเปรียบเทียบ
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- มิติสัมพันธ์
- การวัด
- การตวง
- การชั่ง
- การเปรียบเทียบ
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- จดบันทึกว่าเด็กชอบทำอะไรมากที่สุด
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
- พูดในทางที่ดี (การชม)
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
- ทำบทเรียนให้สนุก
ฝึกร้องเพลงเด็ก 5 เพลง
เพลง นกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่องลอยมา 6 7 8 9 10 ตัว
เพลง เที่ยวท้องนา
ฉันท่องเที่ยวไป
ผ่านตามท้องไร่ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ว 6 7 8 9 10
เพลง เเม่ไก่ออกไข่
เเม่ไก่ออกไข่วันละฟอง
ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน
1 วันได้ไข่ 1 ฟอง
เพลง ลูกเเมวสิบตัว
ลูกแมว 10 ตัวที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้แบ่งไป 1 ตัว
ลูกแมว 10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่เหลือลูกแมว 9 ตัว
เพลง ลุงมาชาวนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย
เอาไว้ใช้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา เลี้ยงแมว
ไว้เป็นเพื่อนลุงมา
* หมาก็เห่า บ็อก บ็อก
เเมวก็ร้อง เมี๊ยว เมี๊ยว
ลุงมาไถนา วัวร้อง มอ มอ
(ซ้ำ * )
ผู้เเต่ง อ. ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ เเจ่มถิน
การประเมิน
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจฟังอาจารย์สอนและอาจารย์ให้ฝึกร้องเพลง 5 เพลง เสียงอ่านจะไม่ค่อยดีนัก ร้องอาจไม่ตรงคีย์บ้าง เเต่ก็ตั้งใจร้องค่ะและจะฝึกร้องให้มากขึ้นคะ
ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่อาจมีบางคนมาสายบ้าง เพื่อนๆตั้งใจเรียนดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา อาจารย์สอนและอธิบายเนื้อหาอย่างละเอียดเป็นข้อๆให้เข้าใจมากขึ้น วันนี้อาจารย์เเจกสีให้นักศึกษาคนละกล่องเป็นเงินเหลือจากค่าวัสดุฝึกในวิชชานี้คะ
วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558
อนุทินครั้งที่ 11
บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วัน อังคารที่ 17 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
· การกินอยู่
· การเข้าห้องน้ำ
· การแต่งตัว
การสร้างความอิสระโดยที่ไม่พึ่งใคร
· เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
· อยากทำงานตามความสามารถ
· เลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อนและผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
· การทำได้ด้วยตนเอง
· เชื่อมั่นในตนเอง
· เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
จะช่วยเมื่อไหร่
· เด็กจะมีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร เช่น หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
· หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
· เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
· มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ตารางเกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดกับเด็กตามช่วงอายุแต่ละปี
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือ
· แบ่งทักษะการช่วยเหลือออกเป็นขั้นย่อยๆ
· เรียนลำดับตามขั้นตอน
การเข้าส้วม
1. เข้าไปในห้องส้วม
2. ดึงกางเกงลง
3. ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
4. ปัสสาวะหรืออุจจาระ
5. ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
6. ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
7. กดชักโครกหรือตักน้ำราด
8. ดึงกางเกงขึ้น
9. ล้างมือ
10. เช็ดมือ
11. เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนที่ละขั้น
· แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
สรุป
1. ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
2. ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
3. ความสำเร็จชิ้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
4. ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
5. เด็กพึ่งตนเองได้รู้สึกเป็นอิสระ
กิจกรรม
การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง
* เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย แต่บางเวลาคุยกับเพื่อนบาง มีเล่นโทรศัพท์เป็นบางครั้ง
เพื่อน
* เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียนมิอาจารย์ได้สอนหรือให้ทำกิจกรรมกันเป็นอย่างดี อาจจะมีบางกลุ่มพูดคุยกันบ้างแต่ไม่มาก มีเล่นโทรศัพท์เป็นบางครั้ง
ครูผู้สอน
* อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย มาสอนตรงต่อเวลา อาจารย์คอยแนะนำและมีเทคนิคใหม่ๆมาสอน และชอบหา
กิจกรรมมาให้นักศึกษาเสมอ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)