วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

อนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทินครั้งที่    12

 วัน อังคารที่ 24 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

ครูผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ



วันนี้ไม่มีเรียนการสอน  เนื่องสอบเก็บคะแนน



อนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทินครั้งที่    11

 วัน อังคารที่ 17 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

ครูผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ 

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง   เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
·       การกินอยู่
·       การเข้าห้องน้ำ
·       การแต่งตัว
การสร้างความอิสระโดยที่ไม่พึ่งใคร
·       เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
·       อยากทำงานตามความสามารถ
·       เลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อนและผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
·       การทำได้ด้วยตนเอง
·       เชื่อมั่นในตนเอง
·       เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
จะช่วยเมื่อไหร่
·       เด็กจะมีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร เช่น  หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
·       หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
·       เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้  แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
·       มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ตารางเกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดกับเด็กตามช่วงอายุแต่ละปี




 ลำดับขั้นในการช่วยเหลือ

·       แบ่งทักษะการช่วยเหลือออกเป็นขั้นย่อยๆ
·       เรียนลำดับตามขั้นตอน
การเข้าส้วม
1.        เข้าไปในห้องส้วม
2.        ดึงกางเกงลง
3.        ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
4.        ปัสสาวะหรืออุจจาระ
5.       ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
6.        ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
7.        กดชักโครกหรือตักน้ำราด
8.        ดึงกางเกงขึ้น
9.        ล้างมือ
10.      เช็ดมือ
11.      เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนที่ละขั้น
·       แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด

สรุป
1.         ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
2.         ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
3.         ความสำเร็จชิ้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
4.         ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
5.         เด็กพึ่งตนเองได้รู้สึกเป็นอิสระ

กิจกรรม









การประเมินการเรียนการสอน

ตนเอง
เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย แต่บางเวลาคุยกับเพื่อนบาง มีเล่นโทรศัพท์เป็นบางครั้ง

เพื่อน
 *  เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียนมิอาจารย์ได้สอนหรือให้ทำกิจกรรมกันเป็นอย่างดี อาจจะมีบางกลุ่มพูดคุยกันบ้างแต่ไม่มาก  มีเล่นโทรศัพท์เป็นบางครั้ง

ครูผู้สอน

อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย มาสอนตรงต่อเวลา อาจารย์คอยแนะนำและมีเทคนิคใหม่ๆมาสอน และชอบหา

กิจกรรมมาให้นักศึกษาเสมอ

อนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทินครั้งที่    9

 วัน อังคารที่ 3 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

ครูผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

1.ทักษะทางสังคม

-เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่

-การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

 กิจกรรมการเล่น

• การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม

• เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ

• ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส 

ผลัก ดึง

ยุทธศาสตร์การสอน

• เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร

• ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ

• จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง

• ครูจดบันทึก

• ทำแผน IEP

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง

• วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง

• คำนึงถึงเด็กทุกๆคน

• ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน

 ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น

• อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ

•  ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู

• ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป

• เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น

• ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น

• ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน

• ทำโดย “การพูดนำของครู

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์

• ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ

• การให้โอกาสเด็ก

• เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง

อนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทินครั้งที่    8

 วัน อังคารที่ 24 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

ครูผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


** วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากทางมหาลัยได้จัดสอบกลางภาค **



อนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทินครั้งที่    7

 วัน อังคารที่ 17 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

ครูผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


 
    **สุขสันต์วันเกิดย้อนหลังค่ะอาจารย์เบียร์ ขอให้อาจารย์มีความสุขมากๆ สุขภาพ

ร่างกายแข็งแรง คิดอะไรขอให้ได้ดังทีคิดนะค่ะ  ขอให้อาจารย์อยู่กับพวกหนูนานๆ**



     **หมายเหตุ ดิฉันไม่มาเรียน เนื่องจากกลับต่างจังหวัดเป็นเวลา 1 อาทิตย์**






อนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทินครั้งที่    6

 วัน อังคารที่ 10 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

ครูผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน





ความรู้ที่ได้รับ(Knowledge)


  ก่อนเข้าสู่บทเรียนได้ทำกิจกรรมศิลปะ วาดมือของเราโดยที่สวมถุงมืออยู่ ให้เหมือนมากที่สุด 

ภาพประกอบ



           

                                                               

 
การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ 

ทักษะของครูและทัศนคติ

การเข้าใจภาวะปกติ

-  เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
-  ครูต้องเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า

-การเข้าใจพัฒนาการของเด็กจะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย

ความพร้อมของเด็ก

-วุฒิภาวะ
-แรงจูงใจ
-โอกาส

การสอนเด็กโดยบังเอิญ

-ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
-เด็กถามคำถาม

ตารางประจำวัน

-เด็กพิเศษไม่สาารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่ประจำ
-กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้

ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
-การแก้แผนการสอนให้เหมาะกับสถานการณ์
-ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก

การใช้สหวิทยาการ

-ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในชีพต่างๆ
-สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน

การเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้

เด็กทุกคนสอนได้
-เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
-เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส

หลักการให้แรงเสริม

-ครููต้องให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
-ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกคนที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

การแนะนำหรือบอกบท (prompting)

-ย่อยงาน
-ลำดับควายากง่ายของงาน
-การลำดับงานเป็นการเสริมแรงดพื่อให้เด็กก้าวไปสู่ความสำเร็จ

การกำหนดเวลา

-จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้

การลดและหยุดแรงเสริม

-ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
-ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
-เอาอุปกรณ์และของเล่นออกจากตัวเด็ก
เอาเด็กออกจากการเล่น

การประเมิน

ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนเข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่ก็มาเรียนกันครบทุกคน และตั้งใจทำกิจกรรมในชั้นเรียน
ประเมินตนเอง ; วันนี้เข้าเรียนตรงต่อเวลาและแต่งกายถูกระเบียบ
ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์เตรียมการสอนมาดีและอธิบายเนื้อหาเข้าใจ